กลยุทธ์ทางการตลาดที่ต้องรู้ก่อนเริ่มธุรกิจ
กลยุทธ์การตลาดเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็วและประสบความสำเร็จในระยะยาว โดยทั้งหมดนี้จะช่วยให้ธุรกิจมีทิศทางและก้าวที่มั่นคงในทุกสถานการณ์ทางการตลาด กลยุทธ์การตลาดเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่หรือเล็ก การเข้าใจและนำกลยุทธ์ทางการตลาดไปใช้ในธุรกิจจะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการประสบความสำเร็จ ในบทความนี้จะบอกถึงกลยุทธ์ STP Marketing , กลยุทธ์การตลาด 4Ps , กลยุทธ์การตลาด 7Ps และกลยุทธ์การตลาด 8Ps ซึ่งเมื่ออ่านบทความนี้จบแล้วทุกคนจะมีรากฐานที่แข็งแกร่งในการเริ่มต้นทำธุรกิจอย่างแน่นอน
กลยุทธ์การตลาดคืออะไร
กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy) คือ แผนการดำเนินงานที่กำหนดทิศทางและแนวทางของกิจกรรมการตลาดขององค์กร โดยมุ่งเน้นไปที่การบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดที่ตั้งไว้ กลยุทธ์การตลาดที่ดีควรมีการวางแผนอย่างรอบคอบ พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เช่น สภาพแวดล้อมทางการตลาด คู่แข่ง ลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย และทรัพยากรขององค์กร
STP Marketing คืออะไร
STP Marketing เป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรในการทำธุรกิจ กลยุทธ์นี้ช่วยให้องค์กรสามารถมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมที่สุด นำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1. Segmentation (การแบ่งส่วนตลาด)
เป็นกระบวนการแบ่งตลาดออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามลักษณะหรือความต้องการที่แตกต่างกัน โดยสามารถใช้ปัจจัยต่าง ๆ เพื่อทำการแบ่งส่วนของตลาดได้ เช่น
– ปัจจัยประชากรศาสตร์ เช่น อายุ เพศ การศึกษา รายได้ อาชีพ
– ปัจจัยภูมิศาสตร์ เช่น ภูมิภาค ประเทศ เมือง ตำบล
– ปัจจัยจิตวิทยา เช่น ไลฟ์สไตล์ ค่านิยม ทัศนคติ
– ปัจจัยพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมการซื้อสินค้า พฤติกรรมการบริโภค
2. Targeting (การกำหนดเป้าหมาย)
เป็นกระบวนการเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสินค้าหรือบริการ ซึ่งควรพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย ศักยภาพของกลุ่มเป้าหมาย ความน่าสนใจของกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น
3. Positioning (การวางตำแหน่ง)
เป็นกระบวนการกำหนดภาพลักษณ์หรือการนำเสนอสินค้าหรือบริการในลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์และแตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความแตกต่างของสินค้าหรือบริการ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การแข่งขันในตลาด เป็นต้น
ตัวอย่างของ STP Marketing
แบรนด์ Apple แบ่งส่วนตลาดออกเป็นกลุ่มเป้าหมายระดับบน พิจารณาจากปัจจัยประชากรศาสตร์ เช่น อายุ รายได้ และการศึกษา เป็นต้น โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ นวัตกรรมล้ำสมัย และดีไซน์สวย
แบรนด์ Nike แบ่งส่วนตลาดออกเป็นกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น พิจารณาจากปัจจัยจิตวิทยา เช่น ไลฟ์สไตล์และค่านิยม โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย สะท้อนบุคลิกภาพ และช่วยให้วัยรุ่นรู้สึกมั่นใจ
แบรนด์ Starbucks แบ่งส่วนตลาดออกเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการประสบการณ์ที่ดี พิจารณาจากปัจจัยพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมการบริโภค โดยตกแต่งร้านให้อบอุ่นเป็นกันเองและให้บริการที่ดี
กลยุทธ์การตลาด 4Ps
กลยุทธ์การตลาด 4Ps เป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมและถูกนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลก ประกอบไปด้วย Product , Price , Place และ Promotion ซึ่งกลยุทธ์นี้ช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดทิศทางและแนวทางของกิจกรรมทางการตลาดได้อย่างเหมาะสม
กลยุทธ์การตลาด 4Ps
1. Product Strategy (กลยุทธ์การออกแบบผลิตภัณฑ์)
ผลิตภัณฑ์หรือบริการเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์การตลาด องค์กรควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การแข่งขันในตลาด นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
ตัวอย่าง Product Strategy
– แบรนด์ Apple นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง นวัตกรรมล้ำสมัย และดีไซน์ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายระดับบน
– แบรนด์ Nike นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย สะท้อนบุคลิกภาพ และช่วยให้วัยรุ่นรู้สึกมั่นใจ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น
– แบรนด์ Starbucks นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการประสบการณ์ที่
2. Price Strategy (กลยุทธ์ด้านราคา)
ราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดการตัดสินใจซื้อของลูกค้า องค์กรควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น ต้นทุนการผลิต การแข่งขันในตลาด มูลค่าที่ลูกค้าได้รับจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ เพื่อกำหนดราคาที่เหมาะสมและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้
ตัวอย่าง Price Strategy
– แบรนด์ Apple กำหนดราคาผลิตภัณฑ์ที่สูง เพื่อให้สอดคล้องกับคุณภาพและนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์
– แบรนด์ Nike กำหนดราคาผลิตภัณฑ์ที่สมเหตุสมผล เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นได้
– แบรนด์ Starbucks กำหนดราคาผลิตภัณฑ์และบริการที่สูงกว่าร้านกาแฟทั่วไป เพื่อให้สอดคล้องกับคุณภาพและประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับ
3. Place Strategy (กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย)
ช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นช่องทางที่ผลิตภัณฑ์หรือบริการจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย องค์กรควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริโภคของกลุ่มเป้าหมาย การแข่งขันในตลาด เพื่อกำหนดช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสม
ตัวอย่าง Place Strategy
– แบรนด์ Apple จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางตามห้างสพพสินค้า เช่น ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายระดับบน
– แบรนด์ Nike จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าออนไลน์ และเว็บไซต์ของแบรนด์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม
4. Promotion Strategy (กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย)
การส่งเสริมการขายเป็นการสื่อสารที่องค์กรใช้ในการบอกเล่าข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ องค์กรควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น วัตถุประสงค์ทางการตลาด กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ การแข่งขันในตลาด เพื่อกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมการขายที่เหมาะสม
กลยุทธ์การตลาด 7Ps
กลยุทธ์การตลาด 7Ps คือ แนวคิดทางการตลาดที่พัฒนามาจากกลยุทธ์การตลาด 4Ps โดยเพิ่มองค์ประกอบอีก 3 ส่วน ได้แก่ People Strategy (กลยุทธ์ด้านผู้คน) , Process Strategy (กลยุทธ์กระบวนการ) และ Physical Evidence Strategy (กลยุทธ์ประสบการณ์ที่จับต้องได้) กลยุทธ์การตลาด 7Ps ช่วยให้องค์กรสามารถพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตลาดได้อย่างครอบคลุมและรอบด้านยิ่งขึ้น ช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดกลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดที่ตั้งไว้
1 . People Strategy (กลยุทธ์ด้านผู้คน)
บุคลากรเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ บุคลากรที่ดีจะสามารถให้บริการที่มีคุณภาพ สร้างประสบการณ์ที่ดีและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ซึ่งควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรในด้านต่าง ๆ เช่น ทักษะความรู้ ทัศนคติ และวัฒนธรรมองค์กร
ตัวอย่าง People Strategy
– แบรนด์ Apple ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านทักษะความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถให้บริการที่มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการของลูกค้า
– แบรนด์ Nike ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านทัศนคติและวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้สามารถให้บริการที่ประทับใจและสร้างความผูกพันกับลูกค้า
– แบรนด์ Starbucks ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านทักษะการบริการ เพื่อให้สามารถให้บริการที่มีคุณภาพและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
2. Process Strategy (กลยุทธ์กระบวนการ)
กลยุทธ์ที่เน้นการวางแผนและจัดการกระบวนการภายในองค์กร เพื่อให้บริการหรือผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น กลยุทธ์นี้มุ่งเน้นที่การปรับปรุงกระบวนการเป็นหลัก เพื่อเพิ่มคุณค่าและลดความซับซ้อนของการดำเนินงาน
ตัวอย่าง Process Strategy
– แบรนด์ Apple ให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและตรงต่อเวลา
– แบรนด์ Nike ให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการจัดจำหน่ายที่สะดวกต่อลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่าย
– แบรนด์ Starbucks ให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการให้บริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจ
3. Physical Evidence Strategy (กลยุทธ์ประสบการณ์ที่จับต้องได้)
เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธทางการตลาดที่เน้นการสร้างประสบการณ์ที่ผู้บริโภคสามารถจับต้องหรือรู้สึกได้ ที่เชื่อมโยงกับการตลาดบริการและผลิตภัณฑ์ที่มีต่อลูกค้า โดยเน้นที่การสร้างบรรยากาศหรือประสบการณ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการและคาดหวังของลูกค้าในรูปแบบที่จับต้องได้
ตัวอย่าง Physical Evidence Strategy
– แบรนด์ Apple ให้ความสำคัญกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยและสวยงาม เพื่อให้สะท้อนถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ทันสมัย
– แบรนด์ Nike ให้ความสำคัญกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นและสะดุดตา เพื่อให้สะท้อนถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ทันสมัยและมีชีวิตชีวา
– แบรนด์ Starbucks ให้ความสำคัญกับการออกแบบร้านกาแฟที่อบอุ่นและผ่อนคลาย เพื่อให้สะท้อนถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของลูกค้า
กลยุทธ์การตลาด 8Ps
กลยุทธ์การตลาด 8Ps คือ แนวคิดทางการตลาดที่พัฒนามาจากกลยุทธ์การตลาด 7Ps โดยเพิ่มองค์ประกอบอีก 1 ส่วน ได้แก่ Power Strategy (กลยุทธ์ด้านอำนาจการต่อรอง)
กลยุทธ์การตลาด 8Ps
1. Power Strategy (กลยุทธ์ด้านอำนาจการต่อรอง)
Power Strategy (กลยุทธ์ด้านอำนาจการต่อรอง)
อำนาจในการต่อรองมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรในทางการแข่งขันในตลาด ซึ่งควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย เช่น อำนาจต่อรองของซัพพลายเออร์ อำนาจต่อรองของลูกค้า อำนาจต่อรองของคู่แข่ง อำนาจต่อรองของสื่อ เป็นต้น
ตัวอย่าง Power Strategy
– แบรนด์ Apple มีอำนาจในการต่อรองกับซัพพลายเออร์ เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียง
– แบรนด์ Nike มีอำนาจในการต่อรองกับลูกค้า เนื่องจากมีสินค้าที่มีความหลากหลายและคุณภาพสูง
– แบรนด์ Starbucks มีอำนาจในการต่อรองกับคู่แข่ง เนื่องจากมีแบรนด์ที่แข็งแกร่งและเป็นที่รู้จัก
IDM Council ได้เปิดคอร์สเรียนการตลาดดิจิทัลที่สอนโดยอาจารย์ผู้สอนที่ได้การรรับรองมาตรฐานความรู้จากสถาบันระดับโลก ซึ่งปัจจุบันทำงานทางด้าน Online Marketing มีประสบการณ์ตรง พร้อมที่จะถ่ายทอดให้ผู้เข้าอบรมอย่างเต็มที่ในคอร์สเรียน Advanced Digital Marketing Certificate สุด Exclusive จะเป็นการอัพความรู้ทางด้านดิจิทัลแบบเข้มข้น กระชับ ทันสมัย และสามารถนําไปใช้งานได้จริง คอร์สเรียนนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้คุณมีความรู้ที่เหนือคู่แข่งและรู้เท่าทันต่อความต้องการของผู้บริโภค
สรุป
Marketing Strategy เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตและประสบความสำเร็จ การเลือกใช้ STP Marketing , กลยุทธ์การตลาด 4Ps , กลยุทธ์การตลาด 7Ps , หรือกลยุทธ์การตลาด 8P เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ทางการตลาดที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณเข้าใกล้เส้นชัยมากยิ่งขึ้น โดยการเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมและการประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในระยะยาว