รวม 5 เทคนิค Optimize เว็บอย่างไรให้โดนใจ Google bot
การทำ optimize คือการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหน้าเว็บไซต์ ซึ่งรวมไปถึงการออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้น่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้ใช้งานให้เข้าถึงบนหน้าเว็บ และมีการโต้ตอบกับระบบ (ui) เป็นกระบวนการสำคัญที่มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ ช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการใช้งาน และประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (ux) เพื่อเพิ่มจำนวนการเข้าถึงของเว็บไซต์ในหน้าของการค้นหาได้
5 เทคนิค Optimize website
1. Optimize ความเร็วของเว็บไซต์
การ Optimize ความเร็วของเว็บไซต์ ทำได้จากการลดขนาดไฟล์รูปภาพโดยการบีบอัดหรือใช้รูปภาพที่มีขนาดเล็กลงแต่ความคมชัดและคุณภาพยังเท่าเดิม โดยใช้เทคนิคการแคช (Caching) เพื่อเก็บข้อมูลที่ถูกโหลดมาแล้วและลดเวลาโหลดในการเข้าถึงหน้าเว็บซ้ำในครั้งถัดไป แนะนำให้ใช้ https://compressor.io/ เพราะเป็นเว็บไซต์ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถย่อขนาดไฟล์รูปภาพได้โดยที่ไม่เสียคุณภาพของภาพนั้น นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการย่อขนาดไฟล์วิดีโอได้อีกด้วย ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปรับปรุงและลดขนาดของไฟล์วิดีโอได้อย่างง่ายและสะดวก
2. ปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้งาน ( UX หรือ User Experience)
ux หรือ ประสบการณ์ที่ผู้ใช้งานได้รับขณะใช้งานหน้าเว็บไซต์หรือบริการต่างๆ โดยจะมุ่งเน้นไปที่ความเข้าใจ ความพอใจ และความรู้สึกของผู้ใช้งานในขณะที่ใช้งาน ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการออกแบบหน้าเว็บไซต์ที่ให้ความสำคัญไปที่ผู้ใช้งานเป็นหลัก ux เหมือนเป็นเส้นทางที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้หน้าเว็บไซต์ได้อย่างราบรื่น ซึ่งลักษณะของ ux ที่สำคัญ คือ
- ความใส่ใจ : เน้นการใส่ใจและคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก โดยการตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้ใช้งาน เพื่อให้ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจที่ดีต่อหน้าเว็บไซต์
- ความง่ายและความสะดวก : โดยจะออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างง่ายและสะดวกที่สุด โดยมีองค์ประกอบต่างๆ ที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างราบรื่น เช่น การจัดเรียงองค์ประกอบ การใช้สัญลักษณ์และช่องข้อมูลที่มีความชัดเจน เป็นต้น
- ความรู้สึก : มุ่งเน้นให้ผู้ใช้งานมีความรู้สึกที่ดีด้วยการ ออกแบบหน้าเว็บไซต์ ที่นำเสนอข้อมูลและส่งความรู้สึกที่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน เช่น การใช้โทนสี ภาพ และตัวอักษรในการสร้างประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น น่าสนใจ หรือเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน
3. ปรับปรุงโค้ดและโครงสร้างของเว็บไซต์
ใช้โค้ดที่เป็นมาตรฐานและถูกต้องตามหลักการพัฒนาเว็บไซต์ เช่น การใช้แท็ก HTML ที่ถูกต้อง และการเขียน CSS และ JavaScript ที่มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบเรียบร้อย Optimize โครงสร้างของหน้าเว็บไซต์ให้มีการใช้งานที่เข้าใจง่ายและสะดวก (ui) ซึ่งการปรับปรุงโครงสร้างของเว็บเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (ux) เราสามารถทำการปรับปรุงโครงสร้างของเว็บให้ดีได้โดยการทำสิ่งต่อไปนี้
- การปรับปรุงโครงสร้างของข้อมูล : สำรวจและวิเคราะห์โครงสร้างข้อมูลของเว็บเพื่อให้มีการจัดเรียงลำดับข้อมูลที่เหมาะสม การออกแบบโครงสร้างข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นระเบียบช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและง่ายต่อการนำไปใช้
- การปรับปรุงโครงสร้างของเมนูและการนำทาง : การออกแบบเมนูและการนำทางที่ใช้งานง่ายและเข้าใจได้ง่าย ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกดูหน้าเว็บและนำทางไปยังส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว
- การปรับปรุงโครงสร้างของแบบฟอร์ม : การออกแบบแบบฟอร์มที่เป็นมาตรฐานและใช้งานง่ายช่วยลดความซับซ้อนและข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในการกรอกข้อมูล การใช้งานฟอร์มที่มีโครงสร้างที่เหมาะสมช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถกรอกข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
- การปรับปรุงโครงสร้างของหน้าเว็บ : การจัดวางและการออกแบบหน้าเว็บให้มีการใช้พื้นที่ที่เหมาะสมและเป็นระเบียบชัดเจน (ui) เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถอ่านและนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างสะดวกและสม่ำเสมอ
- การปรับปรุงโครงสร้างของการเชื่อมต่อ : การแก้ไขปัญหาความผิดพลาดในการเชื่อมต่อระหว่างเว็บไซต์และเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลและฟังก์ชันต่างๆ ของเว็บได้อย่างรวดเร็วและเสถียร (ui)
4. ปรับปรุงการค้นหาและ seo web
การใช้คีย์เวิร์ดหรือคำสำคัญที่เกี่ยวข้องในเนื้อหาของเว็บไซต์ ช่วยเพิ่มโอกาสในการปรากฏในหน้าผลของการค้นหา และการสร้างการเชื่อมโยงภายนอก (External Linking) ที่เกี่ยวข้อง ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ ซึ่งการทำ seo web ให้ติดหน้าแรกของการค้นหาบน Google และเทคนิคที่ทำให้คนเจอหน้าเว็บไซต์ได้อย่างไร สามารถดูได้จากบทความ สอนเทคนิคติดหน้า SEO โดยไม่ใช่เงินแม้แต่บาทเดียว
5. วิเคราะห์และติดตามผล
ใช้เครื่องมือวิเคราะห์เว็บไซต์ เช่น Google Analytics เพื่อติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลการเข้าถึงเว็บไซต์
Google Analytics เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และติดตามผู้ใช้งานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เพื่อให้เข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าชมเว็บไซต์ พฤติกรรมผู้ใช้งาน และประสิทธิภาพของเว็บไซต์ ซึ่งการใช้งาน Google Analytics มีขั้นตอนดังนี้
- การสร้างบัญชี : เริ่มต้นโดยสร้างบัญชีด้วย Google ที่มีอยู่หรือสร้างบัญชีใหม่ ถ้ายังไม่มีคุณต้องทำการลงทะเบียนและตั้งค่าข้อมูลพื้นฐานสำหรับเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของคุณในบัญชี Google Analytics
- การเพิ่มรหัสติดตาม Google Analytics : เมื่อคุณได้สร้างบัญชีและเว็บไซต์แล้ว ให้คุณทำการเพิ่มรหัสติดตามลงในหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของคุณ รหัสนี้จะช่วยติดตามการเข้าชมและกิจกรรมของผู้ใช้งานของคุณได้
- การตั้งค่าการวิเคราะห์ : เพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คุณต้องตั้งค่าการวิเคราะห์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการตั้งค่าเป้าหมายการเข้าชม เช่น เพจที่ดูหรือการซื้อสินค้า นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดและติดตามการแสดงโฆษณา การสร้างรายงานที่กำหนดเอง และอื่นๆ ได้ตามความต้องการของคุณ
- การวิเคราะห์ผลลัพธ์ : เมื่อรหัสติดตามได้ถูกเพิ่มลงในเว็บไซต์และการตั้งค่าการวิเคราะห์เสร็จสิ้น คุณสามารถใช้งานแดชบอร์ดเพื่อดูข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้ใช้งาน เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราการเติบโตของผู้ใช้ แบบพฤติกรรมการเข้าชม และรายงานอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์และปรับปรุงเว็บไซต์ของคุณ