AI แย่งงานมนุษย์ งานไหนเสี่ยง งานไหนรอด
ปัจจุบัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในโลกยุคดิจิทัลอย่างเห็นได้ชัด และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อวิถีการทำงานของมนุษย์ในทุก ๆ อุตสาหกรรม ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรวดเร็ว คำนวณแม่นยำ และประมวลผลแบบเรียลไทม์ ทำให้เอไอเริ่มเข้ามาแทนที่งานหลายประเภท ส่งผลให้ทั้งนักการตลาดและผู้ประกอบการต่างตั้งคำถามว่างานหรือธุรกิจของพวกเขาที่ทำอยู่จะอยู่รอดหรือไม่ บทความนี้จะพาไปสำรวจว่า งานประเภทไหนที่มีความเสี่ยงมากที่สุดและงานไหนที่เอไอไม่สามารถเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้ พร้อมแนวทางการปรับตัวและการพัฒนาตนเองในยุคดิจิทัล
Artificial Intelligence หรือ AI คือ เทคโนโลยีที่ทำให้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรสามารถเลียนแบบความฉลาดของมนุษย์ได้ หรือ Artificial General Intelligence (AGI) โดยมีความสามารถในการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานซ้ำ ๆ หรือ Artificial Narrow Intelligence (ANI) ที่ต้องการความแม่นยำสูง ความสามารถมีหลากหลาย ตั้งแต่การประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก การแก้ปัญหาเฉพาะเจาะจง ไปจนถึงการสร้างเนื้อหาใหม่ ๆ เทคโนโลยีเอไอมีเป้าหมายในการสร้างระบบที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องมีการควบคุมจากมนุษย์
งานประเภทไหนที่มีความเสี่ยงสูง
1. งานที่ต้องใช้ข้อมูลเชิงสถิติ
ระบบ AI มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลปริมาณมหาศาลโดยใช้ระยะเวลาไม่นาน ดังนั้น งานที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล การประมวลผลรายงาน หรือการพยากรณ์ทางสถิติ เช่น นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) หรือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) มีความเสี่ยงต่อการถูกแทนที่ เนื่องจากเอไอสามารถวิเคราะห์และพยากรณ์ข้อมูลได้เร็วและแม่นยำกว่า
2. งานบริการลูกค้าเบื้องต้น
ในหลายบริษัทเอไอถูกนำมาใช้ในการตอบคำถามและให้บริการลูกค้าผ่าน Chatbot หรือระบบอัตโนมัติ เช่น การตอบคำถามทั่วไป การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น งานเหล่านี้มีโอกาสสูงที่จะถูกแทนที่ เนื่องจากเอไอสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องพัก และลดต้นทุนในการจ้างพนักงาน
เทคโนโลนี AI ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตมานานแล้ว ซึ่งช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความเร็วในการผลิต งานที่ใช้ทักษะน้อยหรือเป็นงานซ้ำ ๆ เช่น การประกอบชิ้นส่วน การตรวจสอบคุณภาพสินค้า อาจถูกแทนที่โดยเอไอและหุ่นยนต์อัตโนมัติ
4. งานด้านบัญชีและการเงิน
งานที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลตัวเลขและการตรวจสอบข้อมูลทางการเงิน เช่น นักบัญชี หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบัญชี ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกัน เนื่องจากเอไอสามารถตรวจสอบและประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็วและโอกาสความผิดพลาดนั้นน้อยกว่า
งานประเภทไหนที่ AI ทำแทนไม่ได้
1. งานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์
AI อาจสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในเบื้องต้นได้ แต่ความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องใช้จินตนาการและการเชื่อมโยงความรู้ในหลากหลายด้านยังคงเป็นทักษะเฉพาะของมนุษย์ งานด้านการตลาด การโฆษณา การออกแบบผลิตภัณฑ์ และงานเขียนเชิงสร้างสรรค์ เช่น การเขียนบทภาพยนตร์ การสร้างแคมเปญโฆษณา หรือการวางแผนการตลาด ยังคงต้องการมนุษย์ที่มีความสามารถในการตีความและเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค
2. งานที่ต้องใช้การสื่อสารและอารมณ์
แม้ไอเอจะสามารถตอบคำถามหรือให้บริการเบื้องต้นได้ดี แต่งานที่ต้องใช้การสื่อสารเชิงลึก เช่น นักจิตวิทยา ที่ปรึกษาทางธุรกิจ หรือการบริหารจัดการทีม ยังคงต้องอาศัยมนุษย์ที่มีความเข้าใจในอารมณ์และสังคม เอไออาจสามารถประมวลผลข้อมูล แต่ยังไม่สามารถสร้างสัมพันธ์และความเข้าใจทางอารมณ์ได้เท่ามนุษย์
3. งานที่ต้องแก้ไขปัญหาซับซ้อนและมีความไม่แน่นอนสูง
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเอไอเก่งในการทำงานที่มีรูปแบบซ้ำ ๆ หรือมีข้อมูลที่ชัดเจน แต่การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนและไม่แน่นอน เช่น การวางกลยุทธ์ธุรกิจ การตัดสินใจในการบริหาร หรือการจัดการสถานการณ์ที่วิกฤติ ยังต้องอาศัยมนุษย์ที่มีประสบการณ์และความเข้าใจในปัจจัยต่าง ๆ เข้าไปแก้ไขปัญหานั้นอยู่ดี
แนวทางการปรับตัวสำหรับนักการตลาดและผู้ประกอบการ
1. เรียนรู้และใช้เอไอเป็นเครื่องมือ
นักการตลาดและผู้ประกอบการควรเรียนรู้วิธีการใช้ประโยชน์จากเอไอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น การใช้เอไอในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภค การสร้างคอนเทนต์เบื้องต้น หรือการคาดการณ์ยอดขาย เอไอสามารถช่วยลดภาระงานที่ซ้ำซ้อนและให้คุณมีเวลามากขึ้นในการคิดเชิงกลยุทธ์
2. เน้นทักษะที่เอไอไม่สามารถทำได้
ควรพัฒนาทักษะที่เอไอไม่สามารถแทนที่ได้ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน และความสามารถที่จะรับรู้และเข้าใจความรู้สึก อารมณ์ และความต้องการของตนเอง ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น (Self-Awareness) ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีคุณค่าในตลาดแรงงานที่มีการใช้เอไออย่างแพร่หลาย
3. ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ
การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ประกอบการควรมีการพัฒนาแผนธุรกิจที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี เช่น การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการบริหารจัดการ การใช้เอไอในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่สามารถรองรับการทำงานร่วมกับเอไอได้
หากคุณอยากมีความรู้และเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง IDM Council ได้เปิดคอร์สเรียนการตลาดออนไลน์ สอนโดยอาจารย์ที่ได้การรับรองมาตรฐานความรู้จากสถาบันระดับโลก มีประสบการณ์ตรง คอร์สเดียวจบ ครบทุกทักษะ ทางลัดสู่นักการตลาดมืออาชีพ
อีกหนึ่งคอร์สที่สำหรับผู้ที่อยาก Growth Mindset คือ คอร์สเรียนวางกลยุทธ์การตลาดและการบริหาร คอร์สนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเติบโตและมีมุมมองเดียวกันกับเจ้าของธุรกิจ เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองและมีประสบการณ์ตรง วางกลยุทธ์สร้างจุดเปลี่ยน สู่จุดยืนในโลกธุรกิจ
คอร์สปลดล็อกศักยภาพการขาย เปลี่ยนคุณเป็น Top Sales ด้วยกุญแจสำคัญในการเพิ่มยอดขาย จากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ด้วยเทคนิคจิตวิทยาสะกดใจคน การเจรจาให้ชนะทั้ง 2 ฝ่าย ไปจนถึงการเปลี่ยน Say No เป็น Say Yes และสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้า พูดให้ใช่ ขายให้ปัง พร้อมปิดดีลอย่างมั่นใจ!
AI กำลังแทนที่งานที่ต้องทำซ้ำ ๆ เป็นประจำทุกวัน แต่ไม่สามารถแทนที่งานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาได้ การปรับตัวและพัฒนาทักษะที่เอไอไม่สามารถทำได้จะช่วยให้นักการตลาดและผู้ประกอบการยังสามารถเติบโตได้ในยุคดิจิทัล