แกะบทเรียน! เหตุผลที่ทำให้ธุรกิจเจ๊ง

ในโลกใบนี้มีธุรกิจที่น่าสนใจมากมายกำลังรอคุณไปบริหารให้กับมันอยู่ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจออนไลน์ หรือออฟไลน์ การเริ่มต้นธุรกิจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและท้าทายไปพร้อมกัน เมื่อมองไปที่ความสำเร็จและความร่ำรวยที่มาพร้อมกับการเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง แต่กลับพบว่ามีธุรกิจมากมายที่ขาดทุนและล้มลงหรือไม่ได้รับความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้ธุรกิจเจ๊ง และในบทความนี้เราจะสำรวจเหตุผลที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในธุรกิจ สาเหตุและแนวทางการป้องกันหรือการปรับตัวอย่างไรให้ธุรกิจไม่เจ๊ง

การทราบถึงเหตุผลเหล่านี้จะช่วยให้นักธุรกิจสามารถปรับตัวและพัฒนาแผนการดำเนินธุรกิจใหม่ เพื่อที่จะเอาชนะความล้มเหลวและก้าวไปข้างหน้าในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจเจ๊ง

1. ขาดการวิจัย 

สาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดในอันดับต้น ๆ ที่ทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพล้มเหลวก็คือไม่มีความต้องการของตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณ ดังนั้นหนึ่งในขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุดคือการวิจัยตั้งแต่ตลาดที่มีอยู่ แนวโน้มในปัจจุบันและอนาคตในอุตสาหกรรมของคุณ ไปจนถึงใครคือคู่แข่ง กลุ่มเป้าหมายคือใคร และอะไรจะกระตุ้นให้พวกเขาทำธุรกิจกับคุณ

2. ไม่มีแผนธุรกิจ

แผนธุรกิจที่ดีสามารถช่วยให้คุณเข้าใจทิศทางธุรกิจของคุณได้ชัดเจน ระบุกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการเพื่อให้คุณบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ การเขียนแผนธุรกิจเป็นขั้นตอนสำคัญในการจัดตั้งธุรกิจใหม่ ในทางกลับกัน หากไม่มีการวางแผนธุรกิจอาจทำให้คุณเข้าใกล้ความเสี่ยงในการล้มเหลวทางธุรกิจ การมีแผนธุรกิจจะช่วยให้คุณมีทิศทางในการดำเนินธุรกิจและก้าวข้ามผ่านคำว่า “ธุรกิจเจ๊ง”

3. การจัดการทางการเงินที่ผิดพลาด  

นอกเหนือจากการไม่มีเงินทุนสำหรับธุรกิจแล้ว การไม่เข้าใจวิธีจัดการกระแสเงินสดหรือความรับผิดชอบทางการเงินทั้งหมดนั้นจะนำพาไปสู่หายนะได้ การจัดการเงินสดมีความสำคัญสำหรับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก เพราะหากกระแสเงินสดของคุณไม่สมดุล คุณจะพบว่าตัวเองจมอยู่ในน้ำลึกอย่างรวดเร็ว นั่นเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจที่คุณต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้มันเกิดขึ้นเด็ดขาด!

4. การตลาดไม่ดี 

กลยุทธ์การตลาดที่ดีจะมีความสามารถในการดึงดูดลูกค้าใหม่และสร้างฐานลูกค้าเดิมที่ภักดีให้อยู่กับคุณได้ตลอด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร การตลาดออฟไลน์ (เช่น การโฆษณา , ทำโปสเตอร์ , แจกใบปลิว หรือทำการตลาดแบบB2B) และการตลาดดิจิทัล (การมีเว็บไซต์สำหรับธุรกิจและการใช้โซเชียลมีเดีย สำหรับโปรโมทคนในโลกออนไลน์ได้รับรู้)  ควรสร้างความสมดุลระหว่างกิจกรรมการตลาดออฟไลน์และการตลาดออนไลน์เข้าด้วยกัน เพราะจะเพิ่มโอกาสที่ทำให้ธุรกิจของคุณไปสู่เป้าหมายที่คุณตั้งไว้ได้

5. ไม่ทันความต้องการของลูกค้าหรือการแข่งขัน

การสร้างฐานลูกค้าคุณจำเป็นต้องรู้ว่าลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจคือใคร และจะทำอย่างไรให้พวกเขาเห็นธุรกิจของคุณ แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างคือคุณต้องมีระบบหรือมาตรการเพื่อสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างเท่าทัน หากไม่เข้าใจ Painpoint ของลูกค้า จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะสูญเสียลูกค้าประจำเหล่านั้นให้กับคู่แข่งไปได้ ซึ่งต้องคอยติดตามว่าคู่แข่งของกำลังทำอะไรและมีเป้าหมายอย่างไร เพราะหากคู่แข่งสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่า คุณจะสูญเสียกลุ่มลูกค้าเหล่านั้นให้กับคู่แข่งไปได้

6. เติบโตเร็วเกินไป

การไม่เตรียมพร้อมสำหรับความสำเร็จของตัวเองอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณล้มเหลวได้เช่นกัน ส่วนหนึ่งของการทำความเข้าใจความเสี่ยงทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มต้นธุรกิจคือการรู้ว่าคุณต้องการอะไร เช่น ในแง่ของการตลาด เทคโนโลยี เงินทุนธุรกิจ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับแผนการเติบโตในอนาคตของคุณ!

สัญญาณที่บ่งบอกถึงธุรกิจกำลังล้มเหลว

มีสัญญาณหลายอย่างที่บ่งบอกถึงความล้มเหลวของธุรกิจ สัญญาณเหล่านี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. สัญญาณทางการเงิน

– รายได้และกำไรลดลง : ยอดขายสินค้า/บริการลดลง กำไรน้อยลง หรือขาดทุน
– กระแสเงินสดติดขัด : เงินสดไม่เพียงพอต่อการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
– หนี้สินเพิ่มขึ้น : มีภาระหนี้สินที่มากขึ้น
– ปัญหาในการชำระหนี้ : ชำระหนี้ล่าช้าหรือไม่สามารถชำระหนี้ได้

2. สัญญาณจากลูกค้า

– จำนวนลูกค้าลดลง : ลูกค้าหายไปหรือมีลูกค้าใหม่น้อยลง
– ลูกค้าไม่พอใจ : มีข้อร้องเรียนจากลูกค้าหรือมีผู้ใช้งานคอนเมนต์ในแง่ลบ
– ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้สินค้า/บริการของคู่แข่ง : ลูกค้าเลิกซื้อสินค้า/บริการของเรา

3. สัญญาณภายในองค์กร

– พนักงานไม่มีความสุข : พนักงานลาออก บรรยากาศการทำงานไม่ดี
– ประสิทธิภาพการทำงานลดลง : ผลงานของพนักงานต่ำลง เกิดข้อผิดพลาดบ่อย
– ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหาร : ผู้บริหารไม่ให้ความสนใจ หรือสนับสนุนไม่เพียงพอ

ตัวอย่างสัญญาณเพิ่มเติม

  • คู่แข่งมีศักยภาพมากขึ้น : คู่แข่งมีสินค้า/บริการที่ดีกว่า กลยุทธ์ที่เหนือกว่า
  • เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง : เทคโนโลยีใหม่ Disrupt ธุรกิจแบบดั้งเดิม
  • การเปลี่ยนแปลงของนโยบายภาครัฐ : กฎหมายใหม่ ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจ
  • ภัยพิบัติทางธรรมชาติ : ภัยพิบัติต่าง ๆ ส่งผลต่อโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง การผลิต

หากธุรกิจของคุณมีสัญญาณเหล่านี้ แสดงว่าธุรกิจของคุณกำลังเผชิญกับปัญหาและมีความเสี่ยงที่จะล้มเหลว จำเป็นต้องรีบหาแนวทางแก้ไขเพื่อพลิกฟื้นธุรกิจ

แนวทางป้องกันไม่ให้ธุรกิจเจ๊ง

การป้องกันธุรกิจไม่ให้ล้มเหลว จำเป็นต้องมีการดำเนินการทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ดังนี้

1. ป้องกันแบบเชิงรุก

– มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน : กำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน
– วิเคราะห์ตลาด : ศึกษาความต้องการของลูกค้า พฤติกรรมการซื้อ เทรนด์ของตลาด
– พัฒนาสินค้า/บริการที่มีคุณภาพ : สินค้า/บริการต้องตรงกับความต้องการของตลาด มีคุณภาพดี ตอบโจทย์การใช้งาน
– สร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง : สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ สื่อสารจุดเด่นของสินค้า/บริการ
– ทำการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ : เข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย สื่อสารจุดเด่นของสินค้า/บริการ กระตุ้นยอดขาย
– บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ : ควบคุมต้นทุน บริหารเงินทุนอย่างชาญฉลาด พัฒนาระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
– สร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ : สร้างแรงจูงใจ พัฒนาศักยภาพของพนักงาน สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี
– ติดตามสถานการณ์ภายนอก : ติดตามสภาวะเศรษฐกิจ เทคโนโลยี คู่แข่ง นโยบายภาครัฐ และภัยพิบัติต่างๆ
– ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง : เรียนรู้สิ่งใหม่ ปรับกลยุทธ์ พัฒนาสินค้า/บริการ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

2. ป้องกันแบบเชิงรับ

– ติดตามสัญญาณเตือน : สังเกตสัญญาณบ่งชี้ว่าธุรกิจกำลังมีปัญหา เช่น ยอดขายลดลง ลูกค้าหายไป หรือพนักงานทำงานแบบไม่มีความสุข
– วิเคราะห์ปัญหา : หาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ธุรกิจมีปัญหา
– จัดทำแผนแก้ไข : วางแผนกลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหา พลิกฟื้นธุรกิจ
– ปรับโครงสร้างธุรกิจ : ปรับโครงสร้างองค์กร กลยุทธ์ การตลาด สินค้า/บริการ ต้นทุน ฯลฯ

การแก้ไขปัญหาต้องทำอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ หากรอช้าธุรกิจของคุณอาจเจ๊งได้!

หากนักธุรกิจหน้าเก่าและหน้าใหม่! มีความกังวลในการทำธุรกิจ IDM Council ได้เปิดคอร์สเรียน Strategic Digital Marketing and Business Transformation ที่สอนโดยอาจารย์ผู้สอนที่ได้การรรับรองมาตรฐานความรู้จากสถาบันระดับโลก มีประสบการณ์ตรง พร้อมที่จะถ่ายทอดให้ผู้เข้าอบรมอย่างเต็มที่! โดยหลักสูตรนี้จะเน้นคิดเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์คู่แข่ง การพัฒนากลยุทธ์ การเพิ่มยอดขาย การตั้งรับและบุกตลาด เข้าใจถึงทิศทางการขายการตลาดและความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งในหลักสูตรเป็นการผนวกคอร์สเรียนสำคัญสำหรับการทำธุรกิจเอาไว้ Strategic Digital Marketing Course และ Business Development Course

สรุป

การทำธุรกิจย่อมมีความเสี่ยงไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุน แต่หากผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจ วางแผนอย่างรอบคอบ และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จและลดเปอร์เซ็นต์ที่ทำให้ธุรกิจเจ๊งลงได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

Save